บัญชีเบื้องต้น 1
บทที่ 2
หน่วยที่ 2 เรื่อง การวิเคราะห์รายการค้า
รูปแบบของกิจการ
รูปแบบของกิจการค้าแต่ละประเภทจะแตกต่างกันออกไปตามสภาพการลงทุนในกิจการลักษณะการจัดตั้ง การดำเนินงาน และความสำคัญทางเศรษฐกิจ แบ่งได้ดังนี้
1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Single Proprietorship)
ได้แก่ กิจการขนาดเล็กที่มีบุคคลคนเดียวเป็น
เจ้าของ เช่น รายค้าย่อย สำนักงานผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ การจัดตั้งทำได้ง่าย เจ้าของดำเนินงานเองและรับผิดชอบในหนี้สินของร้านโดยไม่จำกัดจำนวน ข้อเสียของกิจการค้าเจ้าของคนเดียวคือ เงินทุนมีจำนวนจำกัด การขยายกิจการทำได้ยาก อายุของกิจการจะสิ้นสุดเท่าอายุเจ้าของกิจการหรือน้อยกว่านั้น
2.
ห้างหุ้นส่วน (
Partnership)
คือ กิจการที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันเป็นเจ้าของโดยมี
สัญญาตกลงรวมทุนกันเป็นหุ้นส่วนประกอบการค้าเพื่อหวังกำไร โดยผู้เป็นหุ้นส่วนจะมีทุนเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ห้างหุ้นส่วนแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
2.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary Partnership) คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันในหนี้สิน โดยไม่จำกัดจำนวน ห้างหุ้นส่วนประเภทนี้จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็ได้หรือไม่จดทะเบียนก็ได้
2.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership) คือ ห้างหุ้นส่วนที่ประกอบด้วยผู้เป็นหุ้นส่วน 2 จำพวก คือ จำพวกจำกัดความรับผิดชอบ และไม่จำกัดความรับผิดชอบ ห้างหุ้นส่วนจำกัด กฎหมายบังคับให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
3. บริษัทจำกัด (Company Limited or Corporation)
คือ กิจการที่ตั้งขึ้นในรูปของนิติบุคคลด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน ผู้ที่ลงทุน ซื้อหุ้นของกิจการเรียกว่า “ผู้ถือหุ้น” (Shareholders) ผู้ถือหุ้นต้องรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ การบริหารงานของบริษัทกระทำโดยคณะกรรมการชุดหนึ่ง ซึ่งที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเป็นผู้แต่งตั้ง และบริษัทจำกัดต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นจะได้รับส่วนแบ่งกำไรเป็นเงินปันผล (Dividends) บริษัทจำกัดแบ่งเป็น 2 ประเภท
3.1 บริษัทเอกชนจำกัด (Private Company Limited) มีจำนวนผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป (ป.พ.พ. มาตรา 1097)
3.2 บริษัทมหาชนจำกัด (Public Company Limited) มีจำนวนผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป (พ.ร.บ. บริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 16) และต้องจองหุ้นรวมกันอย่างน้อย 5 % ของทุนจดทะเบียน แต่ละคนถือหุ้นไม่เกิน 10 % ของทุนจดทะเบียน และตั้งขึ้นมาโดย มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป ต้องมีคำนำหน้าชื่อว่า “บริษัท” และคำลงท้ายว่า “จำกัด (มหาชน)”
รายการค้า
(
Business Transaction)
รายการค้า หมายถึง การดำเนินงานในทางการค้าที่ทำให้เกิดการโอนเงินหรือสิ่งของมีค่าเป็นเงินระหว่างกิจการค้ากับบุคคล ภายนอก ซึ่งอาจจะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของกิจการค้า
ตัวอย่างรายการค้า
1.นำเงินสดหรือสินทรัพย์มาลงทุน
2.ถอนเงินสดหรือสินค้าไปใช้ส่วนตัว
3.ซื้อสินทรัพย์เป็นเงินสด
4.ซื้อสินทรัพย์เป็นเงินเชื่อ
5.ซื้อสินค้าเป็นเงินสดหรือซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ
6.ขายสินค้าเป็นเงินสดหรือขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ
7.รับรายได้ค่าบริการ
8.จ่ายชำระหนี้
9.รับชำระหนี้
10.จ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
11.กู้เงินจากบุคคลภายนอก
12.เจ้าของกิจการถอนใช้ส่วนตัว
ตัวอย่างที่ไม่ใช่รายการค้า
1. การจัดแสดงสินค้า
2. การเชิญชวนและต้อนรับลูกค้า
3. การสาธิตสินค้า
4. การเขียนจดหมายโต้ตอบ
5. การสอนถามราคา
การวิเคราะห์รายการค้า (
Business Transaction Analysis)
การวิเคราะห์รายการค้าเป็นจุดเริ่มต้นของวงจรบัญชี เป็นขั้นแรกของการจัดทำบัญชี ซึ่งสำคัญมาก เพราะหากวิเคราะห์รายการค้า ผิดก็จะทำให้ขั้นตอนต่อ ๆ ไปผิดไปด้วย เช่น การบันทึกบัญชีในสมุดรายวัน การผ่านบัญชีไปสมุดบัญชีแยกประเภท ตลอดจนถึงการ จัดทำงบการเงินก็ผิดไปด้วย
1. วิเคราะห์รายการค้าที่เกิดขึ้นว่าทำให้สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของกิจการเปลี่ยนแปลงโดยการเพิ่มขึ้นหรือลดลง อย่างไรบ้าง
2. รายการค้าที่เกิดขึ้นเมื่อวิเคราะห์แล้ว การเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของนั้นจะต้องทำให้สมการบัญชีเป็นจริงเสมอ กล่าวคือ
เมื่อวิเคราะห์รายการค้าแล้ว สินทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลง จะต้องเท่ากับ หนี้สินที่เปลี่ยนแปลงบวกด้วยส่วนของเจ้าของที่เปลี่ยนแปลงเสมอ
หลักในการวิเคราะห์รายการค้า
5 ประการ คือ
1. สินทรัพย์เพิ่ม (+)
ส่วนของเจ้าของเพิ่ม (+)
2.สินทรัพย์ลด (-)
ส่วนของเจ้าของลด (-)
3. สินทรัพย์อย่างหนึ่งเพิ่ม (+)
สินทรัพย์อีกอย่างหนึ่งลด (-)
4. สินทรัพย์เพิ่ม (+)
หนี้สินเพิ่ม (+)
5. สินทรัพย์ลด (-)
หนี้สินลด (-)
การวิเคราะห์รายการค้าตามหลักการบัญชีคู่
Double – Entry
หลักการบัญชีคู่ เป็นหลักการบัญชีที่ได้รับการยอมรับและใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน ซึ่งก็คือรายการค้าทุกรายการที่เกิดขึ้น เมื่อได้ทำการ วิเคราะห์แล้วก็จะนำไปบันทึกบัญชี 2 ด้านเสมอ
การตั้งชื่อบัญชีจากการวิเคราะห์รายการค้า
1. บัญชีประเภทสินทรัพย์ ให้นำชื่อของสินทรัพย์นั้น มาตั้งเป็นชื่อบัญชี เช่น บัญชีเงินสด บัญชีลูกหนี้ บัญชีอุปกรณ์ บัญชีเครื่องตกแต่ง เป็นต้น
2. บัญชีประเภทหนี้สิน ให้นำชื่อของหนี้สินนั้นๆ มาตั้งเป็นชื่อบัญชี เช่น บัญชีเจ้าหนี้ร้านนานา บัญชีเงินกู้ –ธนาคารกรุงธน เป็นต้น
3. บัญชีประเภทส่วนของเจ้าของ (ทุน) ให้นำชื่อส่วนที่เกี่ยวข้องกับเจ้าของมาตั้งเป็นชื่อบัญชี เช่น บัญชีทุน-นางสาวยอดมณี บัญชีถอนใช้ส่วนตัว บัญชีรายได้ค่าเสริมสวย บัญชีเงินเดือน เป็นต้น
ลักษณะของบัญชีทุน
จะถูกบันทึกทางด้านเครดิตเมื่อมีการลงทุนครั้งแรก ลงทุนเพิ่มและจะถูกบันทึกด้านเดบิตเมื่อมีการถอนทุน
ลักษณะของบัญชีถอนใช้ส่วนตัว
จะถูกบันทึกทางด้านเดบิต เพราะทำให้ส่วนของเจ้าของลดลง
ลักษณะของบัญชีรายได้
จะถูกบันทึกทางด้านเครดิตเมื่อมีรายได้เกิดขึ้น เพราะทำให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น
ลักษณะของบัญชีค่าใช้จ่าย
จะถูกบันทึกทางด้านเดบิตเมื่อมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น เพราะทำให้ส่วนของเจ้าของลดลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น